5D3 0131

 

วันนี้นั่งดูช่อง NHK World มีรายการแข่งขันซูโม ดูสนุกดี เคยอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับกีฬาประเภทนี้มาบ้างแต่ไม่ละเอียด วันนี้เลยอยากเอาข้อมูลที่รู้และรายละเอียดเกี่ยวกับกีฬาซูโมมาเขียนแปะเก็บไว้

ซูโม่มีความเป็นมาอย่างไร?

ซูโม่ (ญี่ปุ่น: 相撲 sumō ซุโม ?)

ซูโม่นั้นมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ  ก่อนคริสตกาลศตวรรษที่5 〜ก่อนคริสตกาลศตวรรษที่  3  เกิดจาก พิธีกรรมที่ทางเกษตรกรแสดงเพื่อบูชาเทพเจ้า ทำนายดวงชะตาการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรแห่งปี อารมณ์คล้ายๆกับวันพืชมงคลของไทยๆเรานี่แหละ  หลังจากนั้นกลายเป็นการเสี่ยงทายผลผลิตทางการเกษตรทั้งหมดของประเทศ มีวิวัฒนาการมาอย่างยาวนาน 300 ปี เป็นงานพิธีของราชสำนัก  จนปัจุบันกลายเป็นที่หลงใหลมากมายของผู้คนในฐานะที่เป็นกีฬาต่อสู้ประจำชาติ

แม้แต่ในยุคปัจจุบันนี้ ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ก็คือธรรมเนียมปฎิบัติ เช่น  ในวันแรกก่อนเริ่มการแข่งขัน  ที่โดเฮียว(เวทีซูโม่) จะทำการเทและฝังเหล้าสาเกญี่ปุ่น・ข้าวสาร・เกลือ เป็นต้น   เพื่อบวงสรวงเรียกเทพเจ้าซูโม่ และ  วันสุดท้ายของการแข่งขัน จะเรียกว่า 「เซนชือระคุ」คือ การส่งลาเทพเจ้า ถึงแม้จะเป็นกีฬาการต่อสู้แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งพิธีกรรมของชินโตด้วย

จนในศตวรรษที่17 ซูโม่จึงกลายเป็นกีฬาอย่างเป็นทางการ โดยมีการจัดแข่งขันตามศาลเจ้าต่างๆในลัทธิชินโต มีริ้วขบวนต่างๆ เครื่องแต่งกายและพิธีกรรมของกีฬาซูโม่ในปัจจุบัน เป็นการอนุรักษ์ประเพณีที่ล้วนมีอิทธิพลมาจากลัทธิชินโตทั้งสิ้น นักซูโม่อาชีพเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยเอโดะ ( Edo – 江戸)

ด้วยประวัติความเป็นมานี้ ซูโม่ จึงกลายเป็น  「กีฬาประจำชาติ」ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนญี่ปุ่น

5D3 0082

การแข่งขัน

ซูโม่จะไม่มีการแบ่งรุ่นตามน้ำหนัก ฉะนั้นนักซูโมไม่ว่าจะตัวเล็กตัวใหญ่สามารถสู้กันได้หมด ขึ้นอยู่กับพละกำลัง เทคนิค ที่จะล้มคู่ต่อสู้ให้ได้ ก่อนการแข่งขันนักซูโมจะกำเกลือมาโรยลงพื้น เป็นสัญลักษณ์แสดงความบริสุทธิ์ โปร่งใส หลังจากนั้นจะยกขาทีละข้างกระทืบลงพื้นแล้วนั่งยองๆในตำแหน่งรอสัญญาณกรรมการ แล้วรีบพุ่งเข้าประชิดคู่ต่อสู้ทันทีแบบไม่คิดชีวิต สังเกตว่าหัวชนกัน คิ้วแตกก็มี

กติกา

1 บังคับให้คู่ต่อสู้ก้าวออกนอกวงให้ได้ (เรียกว่า”โยริกิริ”)
2. นอกจากฝ่าเท้าแล้ว ห้ามให้ส่วนใดของร่างกายสัมผัสพื้นในวงกลม เช่น มือแตะพื้น ล้ม หรือนั่งลงพื้น ถือว่าแพ้ หากล้มพร้อมกัน คนที่ล้มก่อนจะแพ้ นักมวยปล้ำที่แพ้ในกรณีนี้เรียกว่า ศพ (Shini-Tai)

การแข่งขันจะไม่ได้กำหนดเวลา แต่ทุกคนจะล้มคู่ต่อสู้ให้เร็วที่สุด หากทั้งสองฝ่ายเหนื่อยก็เกาะกันพัก 2- 5 วิแล้วลุยต่อจนกว่าจะรู้ผล โดยมากจะใช้เวลาไม่นานก็รู้ผลชนะ ข้อห้ามในการแข่งขัน ห้ามโจมตีต่ำกว่าเอวลงไป

นักซูโม่จะต้องโรยเกลือ แสดงถึงความบริสุทธิ์

นักซูโม่จะต้องโรยเกลือ แสดงถึงความบริสุทธิ์

 

ยกเท้ากระทืบพื้นทั้งสองข้าง แล้วนั่งยองๆ

ยกเท้ากระทืบพื้นทั้งสองข้าง แล้วนั่งยองๆ

 

ประจำที่ รอสัญญาณแล้วพุ่งเข้าหาคู่ต่อสู้อย่างแรงทันที

ประจำที่ รอสัญญาณแล้วพุ่งเข้าหาคู่ต่อสู้อย่างแรงทันที

 

5D3 0130

ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายออกนอกวงกลมถือว่าแพ้

ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายออกนอกวงกลมถือว่าแพ้

 

sumo

ขอบคุณข้อมูล "Kimarite" จาก https://www.sumo.or.jp/Kimarite

ขอบคุณข้อมูล “Kimarite” จาก https://www.sumo.or.jp/Kimarite

กระบวนท่า “คิมาริท”

Kimarite (เทคนิคในการตัดสินผู้ชนะ) เป็นท่าที่นักซูโม่ใช้ในการต่อสู้ซึงมีมากถึง 82 ท่าการเคลื่อนไหวด้วยกัน (และไม่ใช่เทคนิคที่ชนะอีก 5 ท่า) รวมแล้วก็คือ 87 ท่าทางการเคลื่อนไหว เช่น โอชิดาชิ (Oshidashi)คือการผลักหรือดันให้ตกเวที , อุวะเทนาเงะ (Uwatenage)คือการจับทุ่ม , โยริทาโอชิ (Yoritaoshi)คือการผลักให้ล้ม , โยริคิริ (Yorikiri) คือการผลักออก ฯลฯ

Sumo Mawashi Page1

Sumo Mawashi Page2

ข้อมูลจาก www.sumo.or.jp

การแต่งกาย

นักซูโม่จะไว้ผมยาวต้องรวบเป็นหางเปียแล้วพาดกลับมาข้างหน้าบนศีรษะ  ช่วงเอวจะมีผ้าเตี่ยวคาดเอว เป็นผ้าที่มีความหนาที่มีชื่อว่า Unsaiori (雲斎織り) มีลักษณะคล้ายเข็มขัดเรียกว่า “มาวาชิ”  “Mawashi (まわし)” มีความยาวประมาณ 6-7เมตร กว้าง 46 ซม.  ตรงเป้าจุดซ้อนเร้นจะทำมาจากผ้าไหม  มีสายตุ้งติ้งอยู่ด้านหน้าเป็นเครื่องรางป้องกันคุณไสย

ช่วงยุคสมัยเอโดะ นักซูโม่จะมีการสวม Kesho Mawashi (化粧まわし) ซึ่งเป็นผ้าที่มีการตกแต่งอย่างหรูหรา สีสันสวยงามอย่างยิ่ง ห้อยอยู่ด้านหน้า แต่จะทำให้ลำบากเวลาต่อสู้ ในปัจจุบันจึงสวมใส่ช่วงแนะนำตัวเท่านั้น

 

หลายคนคงสงสัยว่าชุดที่นักซูโม่สวมใส่เป็นกางเกง “มาวาชิ”  “Mawashi (まわし)” ในการต่อสู้นั้นจะหลุดไหม ?

Kesho Mawashi (化粧まわし)

Kesho Mawashi (化粧まわし)

กรรมการ

การตัดสินจะมีกรรมการ 6 คนนั่งข้างเวที 5 คนเพื่อยืนยันคำตัดสินของอีก 1 คนบนเวทีที่จะแต่งกายตามประเพณีอย่างสวยงาม

เวทีการแข่งขันซูโม่

เวทีการแข่งขันซูโม่

สนามแข่งขัน

พื้นสนามจะเป็นดินที่อัดแน่นมากและสูงขึ้นจากพื้นเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส และพื้นที่ใช้แข่งขันคือวงกลมด้านใน  ซึ่งวงกลมมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15 ฟุต (4.55 เมตร) สูงจากพื้นประมาณ 2 1/2 ฟุต นำเอาฟางข้าวมาถักอัดด้วยดินอย่างแน่นมัดให้แน่นเป็นทรงกระบอกเรียกว่า Tawara นำไปฝังให้โผล่มาครึ่งหนึ่งเป็นวงกลม เวทีนี้เรียกว่า โดะเฮียว (Dohyo – 土俵) ตรงกลางวงกลมจะมีฟางข้าวโผล่มา 2 เส้น เป็นจุดที่นักซูโม่ย่อเขาและกำหมัดทั้ง 2 ข้างวางลงกับพื้น (ท่าพร้อม) เพื่อเตรียมจู่โจมคู่ต่อสู้ เมื่อกรรมการสั่งเริ่ม!  ด้านบนของห้องจัดการแข่งขันสเตเดี้ยม จะมีหลังคาศาลเจ้าแขวนลอยเหนือสนามการต่อสู้

SUMO 036

การแข่งขันซูโม่

ใน 1 ปี จะมีการจัดการแข่งขันปีละ 6 ครั้ง  ครั้งละ 15 วัน

เดือน มกราคม , พฤษภาคม และ กันยายน จัดการแข่งขันที่ โตเกียว (Tokyo – 東京 )จัดแข่งขัน 3 ครั้ง
เดือน มีนาคม จัดการแข่งขันที่ โอซาก้า (Osaka – 大阪 )จัดแข่งขัน 1 ครั้ง
เดือน กรกฏาคม จัดการแข่งขันที่ นาโงย่า (Nagoya – 名古屋)จัดแข่งขัน 1 ครั้ง
เดือน พฤศจิกายน จัดการแข่งขันที่ ฟุคุโอะกะ (Fukuoka – 福岡)จัดแข่งขัน 1 ครั้ง

การแข่งขันแต่ละฤดูกาลจะเป็นการจัดอันดับนักซูโม โดยจะแบ่งออกเป็น 4 ระดับ แบ่งเป็นสายตะวันออก 13 คน กับสายตะวันตก 13 คน ทั้ง 2 สายเท่า ๆ กัน ทั้ง 26 คน โดยซูโม่ 1 คนจะต้องแข่ง 15 ครั้งใน 15 วันๆ ละ 1 ครั้งตามตารางการแข่งขันที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ผู้ที่มีสถิติชนะมากที่สุดใน 15 ครั้งจะเป็นผู้ชนะเลิศได้รับถ้วยรางวัลของจักรพรรดิ  นักซูโม่ที่เข้าสู่ระดับอาชีพคือ “บันซูเกะ” เรียกว่าระดับ “จูเรียว” จะได้รับการรับรองและรับเงินเดือนจากสมาคมซูโม่

toprangting Sumo

การแข่งขันซูโม่แกรนด์บันซึเกะ

ดูการจัดอันดับ 2022 ได้ที่ >> Makuuchi Division

กลุ่ม มาคุอุจิ (幕内 / Maku-uchi )

1. โยโกสึนะ (横綱 / Yokozuna)
2. โอเซกิ (大関 / Ōzeki)
3. เซกิวากิ (関脇 / Sekiwaki)
4. โคมุสุบิ (小結 / Komusubi)
5. มาเอะกาชิระ (前頭 / Maegashira)

กลุ่ม Sanyaku

– โอเซกิ (大関 / Ōzeki)
– เซกิวากิ (関脇 / Sekiwaki)

7. โจเรียว (十両 Jōryō)
8. มาคุชิตะ (幕下 / Makushita)
9. ซันดันเมะ (三段目 / Sandanme)
10. โจะนิดัน (序二段 / Jonidan)
11. โจะโนะกุจิ (序ノ口 / Jonoguchi)

ซึ่งกลุ่ม มาคุอุจิ (幕内 / Maku-uchi )  และกลุ่ม Sanyaku จัดเป็นนักซูโม่มืออาชีพ

สถิติแพ้ชนะเป็นสิ่งสำคัญ การเลื่อน/ลดระดับชั้นหรือตำแหน่งจะถูกพิจารณาจากผลแพ้ชนะดังกล่าว แนวทางพิจารณาง่ายๆ ก็คือ หากมีสถิติชนะมากกว่าแพ้คือชนะ 8 ครั้งขึ้นไประดับชั้น/ตำแหน่งจะไม่เปลี่ยนแปลง หรือหากสามารถชนะได้อย่างน้อย 33 ครั้งใน 3 การแข่งขันติดต่อกันก็สามารถนำมาเป็นผลงานพิจารณาเลื่อนตำแหน่งเป็นโอเซกิ ในขณะที่ตำแหน่งโยโกซึนะจะต้องเป็นซูโม่ที่มีตำแหน่งโอเซกิที่ชนะเลิศการแข่งขันอย่างน้อย 1 ครั้งขึ้นไปประกอบกับสถิติผลแพ้ชนะที่ดีเด่นที่มีมาก่อนหน้า ซูโม่ระดับสูง (Makuuchi) ตั้งแต่ Maegashira, Komusubi, Sekiwake, Ozeki จนถึง Yokozuna ซึ่งเป็นขั้นสูงสุด  ซูโม่เหล่านี้จะได้รับเงินเดือนตั้งแต่ 1.3 ล้านเยน สำหรับขั้นต่ำสุดไปจนถึง 2.82 ล้านเยน สำหรับYokozuna (ประมาณ 390,000 – 846,000 บาท) ยังไม่ได้รวมเงินรางวัล โบนัส และรายได้พิเศษอื่น

ซูโม่ไม่เหมือนยูโดหรือคาราเต้ที่ไม่เปิดกว้างให้คนอื่นที่ไม่ใช่ญี่ปุ่นสามารถเข้ามาร่วมการแข่งขันได้ ด้วยการเป็นกีฬาที่อาจใช้สรีระเป็นความได้เปรียบ แต่เมื่อเลิกเล่นน้ำหนักตัวที่มากก็เป็นผลร้ายต่อผู้เล่นทำให้มีจำนวนคนรุ่นใหม่เข้ามาในวงการน้อยลง ทำให้ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาคนต่างชาติสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้มากขึ้นในตำแหน่งสำคัญ เช่น โยโกซึนะ หรือ โอเซกิ ล้วนตกอยู่กับคนต่างชาติเป็นส่วนใหญ่ อย่างเช่นในปัจจุบันที่เพิ่งมีโอเซกิที่เกิดในญี่ปุ่นเพียงคนเดียว ขณะที่ตำแหน่งโยโกซึนะนั้นถูกต่างชาติครองโดยไม่มีคนญี่ปุ่นสามารถเป็นไปได้มาหลายปีจนถึงปัจจุบัน ทำให้สมาคมซูโม่ญี่ปุ่นออกกฎเรื่องคุณสมบัติซูโม่อาชีพว่าจะต้องเป็นญี่ปุ่นที่เกิดในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น เป็นญี่ปุ่นโดยสัญชาติก็ไม่ได้ โดยมุ่งหวังที่จะให้ต่างชาติครอบครองตำแหน่งสูงในวงการซูโม่หมดไปเพื่อที่คนญี่ปุ่นก็จะสามารถเข้ามาทดแทนได้ในอนาคต

รายชื่อนักซูโม่ 73 คนที่ขึ้นแท่นสูงสุดในชั้น

ดูรายชื่อได้ที่ List of yokozuna หรือ Wikipedia.org List of yokozuna

ตั๋วเข้าชมการแข่งขัน

พื้นที่จัดการแข่งขันจะเต็มไปด้วยร้านอาหารจำนวนมาก ข้าวกล่องเบนโต ไก่ปิ้ง เหล้าสาเกจำหน่าย เราจึงสามารถอยู่ชมการแข่งขันได้ตลอดทั้งวันโดยไม่ต้องห่วงปากท้อง ส่วนเรื่องตั๋วที่เข้าชมนั้น เราสามารถซื้อผ่านเว็บที่จัดการแข่งขั่นที่ Makuuchi Division และตั๋วเข้าชมจะมี 2 แบบ คือ

  • แบบ  4 ที่นั่ง ประมาณ 36,800 เยน
  • แบบ 1 ที่นั่ง ประมาณ 3,600 เยน

หากคุณอยากรู้เรื่อง Sumo มากกว่านี้ แนะนำ : https://www.sumo.or.jp//En/

—————————————————————————————————

ขอบคุณข้อมูล.. 1  2  3  4  5  6
baseballandblueberries.com
mcha-th.com
manager.co.th
fladdict.net
sumotalk
sumo.or.jp

แสดงความเห็น

ความเห็น