Hiragana

ตัวอักษรญี่ปุ่น

จะเรียนภาษาญี่ปุ่นต้องรู้จักตัวอักษรของญี่ปุ่นก่อนนะครับ เพราะจะทำให้ง่ายต่อการเรียนรู้ภาษา ไม่ว่าจะเป็นการพูด ฟัง อ่าน และการเขียน เราต้องทำความคุ้นเคยกับตัวอักษรและการออกเสียงที่ถูกต้อง แนะนำให้จำและอ่านตัวอักษรให้ได้ก่อน ตั้งต้นที่ “อักษรฮิรางานะ” และ “อักษรคาตาคานะ”

ปัจจุบันภาษาญี่ปุ่นมีการแบ่งออกเป็น 4 แบบ ดังนี้ครับ

  1. ตัวอักษาโรมันจิ
  2. ตัวอักษรฮิรางานะ (46 ตัว)
  3. ตัวอักษรคาตาคานะ
  4. ตัวอักษรคันจิ ( 漢字 ) เป็นอักษรที่ญี่ปุ่นยืมมาจากจีน
    คันจิในภาษาญี่ปุ่น คำอ่านจะแบ่งออกเป็น 音読み(คำอ่านแบบจีน) และ 訓読み (คำอ่านแบบญี่ปุ่น)

1. ตัวอักษรโรมันจิ (Romanji)

เป็นตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงในภาษาญี่ปุ่น โดยใช้ตัวอักษรในภาษาอังกฤษเป็นเกณฑ์ในการเทียบเสียงอ่าน เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้สำหรับชาวต่างชาติ เช่น
hon (ฮน) หนังสือ
kami (คะมิ) กระดาษ
namae (นะมะอะ) ชื่อ

ส่วนใหญ่แล้วการสอนชาวต่างชาติจะนำตัวอักษรโรมันจิ โดยนำตัวอักษรภาษาอังกฤษมาเาียบเสียงกับภาษาญี่ปุ่น ซึ่งจะทำให้ชาวต่างชาติที่คุ้นเคยภาษาอังกฤษได้เรียนและอ่านภาษาญี่ปุ่นได้เร็วขึ้นกว่าที่จะมาเริ่มต้นโดยตรงกับตัวอักษรญี่ปุ่นเองครับ

Hiragana

2. ตัวอักษรฮิรางานะ (Hiragana)

เป็นตัวอักษรที่ญี่ปุ่นประดิษฐ์ขึ้นเอง มีทั้งหมด 46 ตัวอักษร โดยนำเอาตัวอักษรคันจิมาเขียนให้ง่ายขึ้นและเป็นคำที่แสดงความหมายหลัก ใช้เขียนคำศัพท์ทั่วไปเช่น
にほんご (nihongo /นิฮงโงะ) และคำอ่านอักษรคันจิ โดยการนำตัวอักษรฮิรางานะมาเขียนกำกับเสียงอ่านอยู่บนตัวอักษรคันจิ
ซึ่งเรียกได้อีกอย่างว่าตัวอักษร ふりがな (furigana /ฟุริงานะ) ครับ

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF

  • https://happylilac.net/hiragana-g-01.pdf

ตารางสำหรับฝึกเขียน ฮิรางานะ

  • https://happylilac.net/50hiragana-a.html
  • https://happylilac.net/50hiragana-ha.html
Katakana

ตัวอักษรภาษาญี่ปุ่น Katakana

3. ตัวอักษรคาตาคานะ (Katakana)

เป็นตัวอักษรที่ชาวญี่ปุ่นประดิษฐ์ขึ้นเอง โดยการคัดแปลงมาจากส่วนหนึ่งของตัวอักษรคันจิ มีทั้งหมด 46 ตัวอักษรเช่นกันกับฮิรางานะ ใช้สำหรับเขียนทับศัพท์ที่มาจากภาษาต่างประเทศ เช่น ชื่อคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ชื่อเฉพาะและคำเลียนเสียงต่างๆ เช่น アメリカ (Amerika / อะเมะริกะ) ประเทศสหรัฐอเมริกา

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF

  • https://happylilac.net/katakanahyo-a4-1.pdf

ตารางสำหรับฝึกเขียน คาตาคานะ

  • https://happylilac.net/katakana-a.html
  • https://happylilac.net/katakana-ha.html

 

4. ตัวอักษรคันจิ (Kanji)

เป็นตัวอักษรที่ถูกประดิษขึ้นในประเทศจีน ชาวญี่ปุ่นยืมมาใช้ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมีลักษณะเหมือนภาษาจีนเลย แต่อาจจะมีบางคำที่ญี่ปุ่นดัดแปลงเอง ตัวอักษรคันจินั้นถูกนำมาเขียนแทนคำต่างๆในภาษาญี่ปุ่น ตัวอักษรคันจิแต่ละตัวจะมีความหมายในตัวมันเอง  ตัวอักษรคันจิ 1 ตัวจะใช้แทนทั้งเสียงและความหมาย คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะนำเอาตัวอักษรคันจิเข้ามาใช้ควบคู่กับตัวอักษรฮิรางานะ หรือคาตาคานะ หรือใช้ตัวคันจิตัวเดียวก็ได้เช่นกัน  เสียงอ่านของตัวอักษรคันจิมีอยู่ 2 แบบด้วยกันครับ คือ เสียงอ่านแบบจีน (On-yomi / องโยมิ) ซึ่งมักนำมาใช้กับการอ่านตัวอักษรคันจิตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป กับเสียงอ่านแบบญี่ปุ่น  ( Kun-yomi / คุงโยมิ) ซึ่งมักนำมาอ่านตัวอักษรคันจิที่ผสมกับตัวอักษรฮิรางานะครับ  นอกจากนี้คำผสมอาจจะมีเสียงอ่านทั้งสองแบบปะปนกันอยู่เช่น 日本語 ( nihongo / นิฮงโงะ) เราจะพบตัวอักษรคันจิตามร้านค้าต่างๆ และในหนังสือพิมพ์ นิตยาสาร ตัวอักษรคันจิมีประมาณ 3,000 ตัวอักษร ทางกระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่นได้มีการกำหนดให้ใช้ตัวอักษรคันจิในชีวิตประจำวันแค่เพียง 1,945 ตัวอักษร เท่านั้นครับ

เว็บฝึกอ่านิิกเสียง

  • https://www.nhk.or.jp/lesson/th/letters/hiragana.html

ทำไมต้องมีตัวอักษร คันจิ ?

คนญี่ปุ่นจะใช้แค่ ฮิรางานะ กับ คาตาคานะ ก็พอไม่ใช่หรอ ?

คำตอบ คือ ก็เพราะว่าสะดวกต่อการใช้งาน การอ่านนั่นเอง พอเรียนไปเยอะๆ จะเจอคำศัพท์ที่เขียนเหมือนกันแต่ความหมายไม่เหมือนกันบ้าง ออกเสียงไม่เหมือนกันบ้าง เช่น あめ แปลได้ว่า “ฝน” จะใช้คันจิ 雨 และแปลว่า “ลูกอม” จะใช้คันจิ 飴 อีกทั้งเวลาเขียนบทความยาวๆ ถ้าเขียนเป็นฮิรางานะล้วนๆ จะอ่านยากมาก เพราะแยกไม่ออกว่าคำศัพท์อะไรเป็นคำศัพท์อะไร เป็นความหมายไหน ตัวไหนคือคำช่วย(ในภาษาญปมีคำช่วยเพื่อบ่งชี้หน้าที่ของคำ) คันจิเลยเป็นตัวช่วยที่ดีในการทำให้อ่านง่ายขึ้น (แต่นะ! ตัวอักษรจำยากกกกกกก) พยายามเขียนและอ่านเยอะๆ คันจิ กว่าคนญี่ปุ่นเองจะจำได้ ก็เรียนตั้งแต่ประถมถึงมัธยม ทำการบ้านคัดไม่รู้เท่าไร เราเองไม่ใช่เจ้าของภาษา ดังนั้นต้องพยายามมากกว่าคนญี่ปุ่น 100 เท่า

 

หลักพื้นฐานของภาษาญี่ปุ่นโดยทั่วไป

  1. ชนิดของคำในภาษาญี่ปุ่นแบ่งออกได้ดังนี้คือ คำนาม / คำคุณศัพท์  / คำกริยา / คำกริยาวิเศษณ์ / คำสันธาน / คำช่วย
  2. ลำดับคำในภาษาญี่ปุ่น ภาคแสดงจะอยู่หลังประโยค และคำขยายจะวางไว้อยู่หน้าคำหรือวลีที่จะขยาย
  3. ภาคแสดงในภาษาญี่ปุ่นมีอยู่ 3 ประเภทด้วยกันคือ คำนาม / คำคุณศัพท์ / คำกริยา
  4. คำช่วยในภาษาญี่ปุ่นคือ คำที่ใช้แสดงหน้าที่ของคำในประโยค เมื่อมีการสลับต่ำแหน่งของคำในประโยค ความหายของประโยคยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากในประโยคมีคำช่วยคอยระบุหน้าที่ของคำอยู่
  5. ประโยคในภาษาญี่ปุ่นประธานหรือกรรมมักจะถูกละเอาไว้ หากเนื้อหานั้นเป็นที่เข้าใจอยู่แล้วระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง

.

หนังสือภาษาญี่ปุ่นที่คนไทยใช้เรียนก็มี
1. มินนะ โนะ นิฮงโกะ
2. อะกิโกะ
3. ไดจิ
4. มารุโกะโตะ

.

ขอบคุณข้อมูล
– https://cotohajime.net/wp-content/uploads/2020/09/Hiragana-and-Katakana-booklet.pdf
– happylilac.net
– ติ่งญี่ปุ่น lll

แสดงความเห็น

ความเห็น