ปัญหาหลักของ WordPress นั้นคือเรื่องของสปีดเว็บไซต์ปกติรูปที่เราอัพขึ้น WordPress จะถูกหันเป็น 3 ขนาดเพื่อไปใช้งานในการแสดงผลต่างๆของเว็บ รวมทั้งการติดตั้งปลั๊กอินจำนวนมาก และฟังก์ชั่น Service ของ WordPress ที่เปิดใช้งานทิ้งไว้ ซึ่งเว็บบางธุรกิจ ใช้แค่ Content อย่างเดียว เมื่อเวลาผ่านไปเว็บเราก็เริ่มอืดๆ โหลดช้าขึ้นเรื่อยๆ
เรื่อง Performance ของ WordPress นั้นถ้าจะลงรายละเอียดลึกๆ ต้องเริ่มกันหลายส่วนตั้งแต่เริ่มขึ้นเว็บเลย เรียกได้ว่าถ้าตั้งเสาเอกของบ้านผิด อนาคตอาจต้องเจ็บหนักกันเลยทีเดียว โดยสิ่งที่เราต้องคำนึงคือ
จะทำให้ WordPress โหลดเร็ว ต้องทำยังไง
หัวข้อต่อไปนี้เป็นเรื่องที่ทำให้ WordPress ของเรามีความเร็วในการแสดงผลที่ช้าลง ดังนั้นหากต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพ คงต้องย้อนกลับไปดูที่พื้นฐานระบบที่เราใช้รันเว็บไซต์อยู่ในตอนนี้ทั้งหมดครับ
1. Hosting
ถือว่าเป็น Server ที่ทำให้ WordPress รันอยู่ได้อย่างปลอดภัยมีความเสถียร หากเราไปใช้โฮสติ้งที่แชร์กันหลายเว็บ เราอาจจะติดไวรัสจากเว็บอื่นก็เป็นไปได้เช่นกัน หรืออย่างบางกรณีปลั๊กอินไม่ทำงาน
2. Image Optimization
อย่างที่บอกไว้ครับว่ารูปนั้นจะเอาจากมือถือแล้วอัพขึ้นเลยไม่ได้เด็ดขาด เพราะขนาดใหญ่ ทำให้โหลดหน้าเว็บช้า แถมยังทำให้พื้นที่โฮสติ้งเต็มเร็วขึ้น วิฑีการที่ดีที่สุดคือ Optimize WordPress Images ไม่ใช้ Plugin? ถือว่าเสียเวลาพอสมควรแต่ระยะยาวคุ้มค่าไม่ต้องไปเสียค่าบีบอัดรูปให้เล็กลงอย่าง ShortPixel Image Optimizer ครับ
3. WordPress Theme
ตัว “เวิร์ดเพรส” นั้นเป็นโครงสร้างหลัก เสมือนเสาบ้าน+หลังคาบ้าน แต่หน้าตาสวยๆและ interface ต่างๆ นั้นไปอยู่ที่ตัวธีมของเวิร์ดเพรสนั่นเอง ดังนั้นการเลือกธีมที่ดี ช่วยให้เว็บโหลดเต็ม 100/100 ได้ง่ายขึ้นมาก แถมธีมเวิร์ดเพรส ยังช่วยในเรื่องอันดับ SEO ที่ดีขึ้น ถือได้ว่าเลือกธีมที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ไม่จำเป็นต้องใช้ธีมดังๆตามชาวบ้าน แต่แนะนำให้อ่านรายละเอียดของธีมที่ผู้สร้างเขียนไว้ก่อนซื้อมาใช้ครับ ส่วนถ้าใครขี้เกียจหาก็แนะนำธีมดังๆ เช่น Astra Pro , Generate Press, Kadence Pro, OceanWP, Newspaper, Neve และธีมที่มี Page Builder ติดตัวมาให้เลยคือ Divi Theme, Flatsome, Avada เป็นต้น
4. Page Builder
ถือว่า Page Builder นั้นเป็นตัวจัดการเนื้อและเลย์เอาท์ของเว็บไซต์ แทนที่เราจะมาเขียนโค้ดขึ้นหน้าเพจต่างๆ เราใช้วิธีการ Drag & Drop แทน ทำให้สะดวกและง่ายในการสร้างเว็บไซต์ การเลือก Page Builder นั้นมีส่วนทำให้เว็บโหลดช้าหรือเร็วเช่นกัน ที่นิยมใช้กันอย่างเช่น Elementor / Oxygen Builder / SiteOrigin Page Builder / WPBakery Page Builder /Themify Builder / Brizy / Visual Composer และที่ติดมากับ WordPress และโหลดเร็วสุดๆ คือ Gutenberg
5. Performance
ส่วนนี้จะเป็นปลั๊กอินที่ช่วยปิด Service ต่างๆของระบบ บีบอัดไฟล์ เพื่อให้เว็บโหลดเร็วขึ้น ปลั๊กอินที่นิยมใช้กัน คือ WP Rocket / Swift / Perfmatters / Asset Cleanup / Gonzales
6. Customize & Tracking
แน่นอนว่า “เวิร์ดเพรส” ไม่ได้ตอบโจทย์เราซะทุกอย่าง ดังนั้นในการขึ้นระบบเว็บไซต์เราจึงต้อง “ปรับแต่งเอง” เพื่อให้ได้ฟังก์ชั่นที่เราต้องการ ด้วยการเขียน Code หรือเพิ่ม script เข้าไปในเว็บไซต์ ซึ่งก็จะทำให้เว็บต้องโหลดไฟล์เพิ่มในการแสดงผลต่างๆ ดังนั้นทำเท่าที่จำเป็นครับ เช่น Google Analytic, Google Tag, HeatMap, Facebook Pixel
7. CDN (Content Delivery Network)
เป็นบริการนำ Content เนื้อหาของเว็บเราไปฝากไว้ตามเซิฟเวอร์ต่างๆ ทั่วโลก เมื่อมีการเรียกดูหน้าเว็บ Server จะดึงข้อมูลใน Server ที่ใกล้ที่สุด แทนที่จะวิ่งมาเรียกดูจาก Server ที่ประเทศไทยของเรา วิธีนี้เหมาะกับเว็บไซต์ที่ต้องการให้ชาวต่างชาติเข้าเว็บไซต์ด้วย หรือบริการ สินค้าของเรา ต้องการขายให้ชาวต่างชาติ