เคยสงสัยไหมว่าจะสร้างเว็บ เราต้องตั้งชื่อเว็บอย่างไรดี ?
ก่อนที่จะลงมือสร้างเว็บเราก็จะต้องตั้งชื่อเว็บ หรือ Domain ของเราก่อน ได้ชื่อเว็บแล้วค่อยไปหาเช่า Hosting เพื่อลงมือสร้างเว็บไซต์ แต่เคยสงสัยไหมว่า
- – ทำไมชื่อถึงตั้งชื่อ Domain ไม่ได้
- – แล้วเราควรตั้งชื่อ Domain อะไรดี
- – ต้องใช้โดเมน Dot อะไรถึงจะดี ?
- – Dot ท้ายโดเมนต่างกันอย่างไร ?
วันนี้ผมจะพาทุกคนไปรู้จักชื่อโดเมนกันในเบื้องต้น สำหรับใครที่ยังงงว่า Domainคืออะไร ? มาไล่กันให้เครียทีละหัวข้อกันครับ
Domain คืออะไร
โดเมน หรือ Domain ที่เราเรียกกันหมายถึง “ชื่อเว็บไซต์” ในทางเทคนิกคือ การเอาชื่อเว็บไซต์ ไปแทนที่ หมายเลข IP Address ของ Hosting ที่เราเช่าไว้ ทำให้เราจำชื่อเว็บไซต์แทนที่จะต้องไปจำ IP Address ลองนึกภาพดูว่าถ้าเราต้องมาจำชื่อเลข IP Address เว็บนึง 16 หลัก เราคงจะต้องปวดหัวสับสนแน่นแน ทุกวันนี้แค่เบอร์โทรศัพท์ 10 หลักยังจำได้ไม่กี่คน ดังนั้นเพื่อให้คนจำ IP Address ได้ง่ายๆ จึงเอา IP Address ไปผูกกับชื่อเว็บไซต์แทน คนเรามักจะจำชื่อได้แม่นกว่าตัวเลข
ผู้ถือครองโดเมน
Domain จะต้องมีชื่อ ข้อมูลของเจ้าของโดเมน ไม่ว่าจะในนามบุคคล หรือ บริษัท ดังนั้นข้อมูลส่วนนี้สำคัญต้องกรอกตั้งแต่จดโดเมนครั้งแรก และอีกส่วนคือ ข้อมูลผู้ดูแลโดเมน หมายถึง คนที่จะต้อง Config DND ทำเว็บไซต์นั่นแหละครับ
Domain สำคัญไหม ?
สำคัญแน่นแน เพราะถ้าตั้งชื่อให้มันจำง่ายๆ คนก็จะเข้าเว็บเราได้ด้วยการพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ได้โดยตรงเลย คนทั่วไปตั้งชื่อกันยังไง ?
- – บ้างก็จะย่อชื่อบริษัทเป็นชื่อเว็บ เช่น ais.th, cpall.co.th
- – บ้างก็ตั่งชื่อเว็บให้ตรงกับชื่อบริษัท เช่น
- – บ้างก็ตั้งชื่อให้ทับศัพท์ เช่น sanook, kapook, Pantip
กฎการตั้งชื่อ Domain
1. ความยาวของชื่อ Domain อักษร+ตัวเลข รวมกันได้ไม่เกิน 45+ ตัว แนะนำยาวไม่เกิน 2-3 คำ
2. ใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมกับตัวเลขได้ หรือเครื่องหมายขีดกลาง – ( Dash ) ได้
3. ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเล็กหรือตัวใหญ่ ถือว่าเหมือนกัน
4. ต้องไม่มีสัญลักษณ์พิเศษเช่น @!#$%^&*()_+= ต่างๆ
5. ห้ามเว้นวรรคในชื่อ Domain
6. ชื่อ Domain ควรสื่อถึงความหมาย ของเว็บไซต์เราให้มากที่สุด เนื่องจากมีผลต่อ Search Engine ( SEO )
ประเภทของชื่อโดเมน
โดนเมนเนม 2 ระดับ
หมายถึงโดเมนที่มีลักษณะ คือ www.+ ชื่อโดเมน + .ประเภทของโดเมน เช่น www.facebook.com
.com คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
.net คือ องค์กรที่เป็นเกตเวย์ หรือ จุดเชื่อมต่อเครือข่าย
.org คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
.edu คือ สถาบันการศึกษา
.gov คือ องค์กรของรัฐบาล
.mil คือ องค์กรทางทหาร
โดนเมนเนม 3 ระดับ
หมายถึงโดเมนที่มีลักษณะ คือ www.+ ชื่อโดเมน + .ประเภทของโดเมน + .ประเทศ เช่น www.google.co.th
.co คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
.ac คือ สถาบันการศึกษา
.go คือ องค์กรของรัฐบาล
.net คือ องค์กรที่ให้บริการเครือข่าย
.or คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
องค์ประกอบของชื่อโดเมน
รู้จัก Domain ไทย .TH ?
หน่วยงานที่กำกับดูแลโดเมนไทย คือ ทีเอชนิค (THNIC: Thailand Network Information Center) เกิดจากความพยายามที่จะส่งเมล์ติดต่อกันระหว่างสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) เพื่อรับส่งอีเมล์กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย และมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในตอนนั้นไทยเราไม่มีการจดทะเบียนชื่อโดเมนรหัสประเทศไทย และการเชื่อมต่อยังไม่ได้ใช้ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP) ทางออสเตรเลียได้พัฒนาโปรแกรม MHSnet เพื่อใช้รับส่งเมล์ แต่ต้องใช้ชื่อโดเมนประจำคอมพิวเตอร์ ดร.กาญจนา กาญจนสุต จึงได้ขอจดทะเบียนชื่อโดเมนรหัสประเทศไทย เมื่อเดือนมิถุนายน 2531 ส่งผลให้มีชื่อโดเมนรหัสประเทศอยู่ในระบบดีเอ็นเอสภายใต้ชื่อ .th ตั้งแต่นั้นมา หลังจากนั้นมาไทยเราก็เริ่มมีการใช้ชื่อเว็บไซต์กันมากขึ้นจึงเปิดบริการจดทะเบียนชื่อโดเมน อย่างเป็นทางการและก่อตั้ง ทีเอชนิค ( THNIC )
โดเมน .TH สายเลือดไทย
เป็นชื่อโดเมนระดับบนสุดหมวดรหัสประเทศ ccTLD (Country Code Top-Level Domain)
- .th โดเมนระดับที่สอง (.th SLD) ไม่มีหมวดหมู่คั่นกลาง (Second-Level Domain)
- .co.th ชื่อโดเมนจะต้องตรงกับชื่อบริษัท องค์กร หน่วยงาน ต้องใช้เอกสารจดโดเมน และได้โดเมน .ไทย ฟรี
- .in.th ชื่อโดเมนไม่ต้องตรงกับชื่อบริษัท แต่ต้องใช้เอกสารจดโดเมน
- .ไทย ให้ใช้ฟรี เมื่อจด .co.th
ราคาโดเมน
- .th ราคา 10,000 บาท / ปี ต่ออายุครั้งต่อ 100,000 บาท / ปี
- .co.th ราคา 850 บาท / ปี
- .in.th ราคา 685 บาท / ปี
- .go.th ราคา 800 บาท / ปี
- .ac.th ราคา 800 บาท / ปี
ความหมายของชื่อโดเมน
- .in.th .ไทย สำหรับบุคคลทั่วไป (รวมทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลตามกฎหมาย)
- .ac.th .ศึกษา.ไทย สำหรับสถานศึกษา
- .co.th .ธุรกิจ.ไทย สำหรับธุรกิจเอกชน รัฐวิสาหกิจ หรือเครื่องหมายการค้า
- .go.th .รัฐบาล.ไทย สำหรับส่วนราชการและโครงการในกำกับของหน่วยงานภาครัฐ
- .mi.th .ทหาร.ไทย สำหรับหน่วยงานทางทหาร
- .or.th .องค์กร.ไทย สำหรับองค์กรพัฒนาเอกชนหรือโครงการเพื่อสังคม
- .net.th .เน็ต.ไทย สำหรับผู้ได้รับอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม
ข้อเสีย ของ ทีเอชนิค ( THNIC )
จากที่ใช้บริการจดโดเมน .co.th และ in.th ผ่านทาง ทีเอชนิค ( THNIC ) มาระยะหนึ่งพบปัญหาว่า ระบบการจัดการโดเมนยังไม่ครบคลุมการบริหารจัดการ DNS ในขณะที่ผู้ให้บริการ Hosting ที่รับจด Domain จะให้บริการระบบจัดการ DNS ที่ครอบคลุมกว่า ถ้าจะยกตัวอย่างเรื่องนี้ให้เห็นภาพก็เช่น
- โดเมนที่จดกับ ทีเอชนิค ( THNIC ) จะไม่สามารถใช้ Gmail เพราะตั้งค่า DNS เชื่อมกับ Google Workspace ไม่ได้
- โดเมนที่จดกับ ทีเอชนิค ( THNIC ) จะไม่สามารถใช้ MS Outlook เพราะตั้งค่า DNS เชื่อมกับ Microsoft Office 365 ไม่ได้
ใช้ Domain เดียวพอไหม ?
สำหรับแบรนด์สินค้าที่เป็นของเราเองใช้แค่ 1 โดเมนก็เพียงพอแล้วครับ แต่สำหรับบางคนไม่พอ เพราะว่ามันต้องทำอย่างอื่นด้วย เช่น
จดโดเมนเพื่อไม่ให้มีคู่แข่ง!
เรื่องนี้มีอยู่จริงครับ เพราะบางทีโดเมนสวยๆ ที่คล้ายกับของเรา เราก็ไม่อยากให้คนอื่นเอาไปใช้ ยกตัวอย่างเช่น Mailchimp.com เขาก็จะอีกโดเมนชื่อ monkeymail.com แล้วตั้ง Direct ไปที่โดเมนหลัก Mailchimp.com
และบริษัทในไทยก็เช่นกัน บางคนจด .com แล้วต้องไปจด .co.th , net ไว้ด้วย เพื่อไม่ให้ใครไปจดชื่อเดียวกันกับเรา ฮ่าๆ
- monkeymail.com เป็นของ Mailchimp
- linenotify.com เป็นของ LINE
ชื่อโดเมนเหมือนกันแต่คนละประเภท ( .com กับ .co.th )
บางบริษัทก็ใช้ประเภทงานโดเมนต่างกัน เพื่อเอาไว้ทำเว็บ กับ ใช้สร้างเมล์ ตัวอย่างเช่น
- www.myname.com = ใช้เป็น Company site + Google workspace (Email)
- www.myname.co.th = ใช้เป็น E-Commerce
Domain เป็นการเช่า ไม่ใช่ซื้อขาด
การจดโดเมนนั้นเป็นการเช่าใช้ชื่อโดเมน หรือ เช่าใช้ชื่อเว็บไซต์ ในระยะเวลา 1 ปี ถ้าเราไม่อยากเสียเวลาต่ออายุโดเมนบ่อยๆ เราสามารถจ่ายครั้งเดียวใช้ยาวๆได้เลย เช่น .com ค่าเช่า 320 บาท / ปี ชื่อนี้จะใช้ยาวๆ ก็ต่ออายุ หรือ จดโดเมนใหม่ไปเลยสูงสุดที่ 10 ปี ก็จะเป็น 320 บาท x 10 ปี = 3,200 บาท เป็นต้น
ดังนั้นการจดโดเมนจึงไม่ใช่การซื้อขาดเป็นชื่อเว็บของเราเลย เราไม่ได้เป็นเจ้าของโดเมนตลอดชีพได้ แต่เป็นการเช่าใช้ในระยะเวลา 1 ปี หรือนานกว่านั้นหากเราต่ออายุเรื่อยๆ โดเมนนั้นก็จะอยู่ในความครอบคลองของเราตลอดไป หากเราตายจากโลกนี้ไป ก็ให้บริษัท หรือลูกหลายต่ออายุโดเมนเรื่อยๆ
เมื่อไหร่ที่โดเมนไม่ใช่ของเรา
ในกรณีที่โดเมนไม่ได้ต่ออายุหรือหมดอายุแล้ว เช่น จดโดเมนวันที่ 1 มกราคม 2565 หมดอายุ 1 มกราคม 2566 หลังจากโดเมนหมดอายุ เรายังสามารถต่ออายุได้ภายใน 40 วัน นั่นเป็นกฎในการคุ้มครองเรา แต่ถ้าใน 40 วันเรายังลืมต่ออายุอีก!! ต้องไม่เกิน 90 วัน ในช่วงนี้จะมีค่ากู้คืนโดเมนซึ่งก็หลายพันบาท (จดโดเมนแค่ 320 บาทเอง) ถ้าพ้นช่วงกู้คืนโดเมนไปแล้วจะไม่สามารถต่ออายุได้แล้ว ต้องรอให้โดเมนหลุดการถือครอง รอวันจดดดเมนใหม่เท่านั้น จดให้ทันล่ะ ถ้าใครกำลังเล็งดูโดเมนของเราอยู่!!
- ควรต่ออายุก่อนที่โดเมนจะหมดใน 3 วัน
- โดเมนที่หมดอายุแล้วจะแสดงผลเป็นหน้าพักโดเมน (Parking) ไม่ใช่ข้อมูลเว็บเรา
- หลังต่ออายุโดเมนจะใช้เวลาอัพเดทประมาณ 24-72 ชั่วโมงกว่าจะใช้ได้ หรือบางทีก็อัพเดททันที
ระยะเวลาการต่ออายุ
- .CO.TH จดโดเมนได้สูงสุด 10 ปี ต่ออายุภายใน 40 วัน
- IN.TH จดโดเมนได้สูงสุด 10 ปี ต่ออายุภายใน 40 วัน
- .COM จดโดเมนได้สูงสุด 10 ปี ต่ออายุภายใน 40 วัน
- .NET จดโดเมนได้สูงสุด 10 ปี ต่ออายุภายใน 40 วัน
- .ORG จดโดเมนได้สูงสุด 10 ปี ต่ออายุภายใน 40 วัน
- .INFO จดโดเมนได้สูงสุด 10 ปี ต่ออายุภายใน 15 วัน
- .TV จดโดเมนได้สูงสุด 10 ปี ต่ออายุภายใน 15 วัน
- .ME จดโดเมนได้สูงสุด 10 ปี ต่ออายุภายใน 15 วัน
- .CO จดโดเมนได้สูงสุด 5 ปี ต่ออายุภายใน 15 วัน
DNSSEC คืออะไร?
ย่อมาจาก Domain Name System Security Extensions หรือ DNSSEC เป็นส่วนเสริมเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับ DNS Server ของ Domain โดยจะเพิ่มลายเซ็นดิจิทัลให้กับ DNS เพื่อใช้ในการตรวจสอบ (Validation) และยืนยันตัวตน (Authentication) เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ที่ท่องเว็บต่างๆ (end user) ให้ได้รับค่า IP Address ที่ถูกต้องเสมอ ช่วยแก้ปัญหาความเสี่ยงจากการที่อาจจะถูก Hacker เปลี่ยนเส้นทางเว็บเราไปยังเครื่อง เว็บไซต์อื่นๆ เพื่อใช้หลอกเก็บข้อมูลที่สำคัญ เช่น บัญชีธนาคาร, บัตรเครดิต รหัสผ่านต่างๆ
Google Domains คืออะไร
บริการของ Google Domains เปิดตัวในปี 2015 เพื่อให้เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการค้นหาชื่อโดเมนที่ว่าง จดโดเมน และจัดการโดเมน นั่นเองครับ คือถ้าซื้อโดเมนที่ไหนไม่ค่อยน่าไว้ใจก็ซื้อผ่าน Google ซะเลยว่างั้น นอกจากรับจดชื่อโดเมนแล้ว Google เองก็มีระบบ Cloud ให้เราใช้ทำ Hosting + Google Workspace ทำระบบรับส่งเมล์ สามารถจบที่บริการของ Google ได้เลย
จดโดเมนแล้ว ย้ายไปที่อื่นได้ไหม ?
ถ้าเราเป็นคนจดโดเมนเอง หรือจ้างคนทำเว็บแล้วเขาจดให้ เราสามารถย้ายโดเมนนั้นมาอยู่ในความดูแลของเรา หรือย้ายอออกไปที่ Hosting ใหม่เพื่อดูแลเองก็ได้เล่นกันครับ มาดูกรณ๊ว่าย้ายโดเมนเขาทำเพื่ออะไร
- ย้ายโดเมน ไปอยู่กับเจ้าอื่น
ในการย้ายแบบนี้คือการย้าย Domain + Hosting จากเจ้าเก่าที่ดูแลเราได้ไม่ดี หรือมีปัญหาปรึกษายาก ดังนั้นย้ายไปทั้งโดเมน+โฮสติ้ง ดีที่สุดจะได้ไม่ต้องมายุงเกี่ยวกัน - ย้ายแค่ Hosting หรือ Domain
อย่างเช่นจดโดเมนไว้กับ THNIC เช่าโฮสติ้งของ Z.com แล้วอยากย้ายไปใช้ ATOM Host เราก็สามารถย้ายแค่ Host ก็ได้เช่นกัน ย้ายไปเครื่อง server ที่คิดว่าดีกว่า แรงกว่า - ย้าย Domain + Hosting ออกจากคนที่เราจ้างทำเว็บ
ส่วนมากแล้วคนทำเว็บไม่เป็นก็จะไปจ้างคนทำเว็บ คนที่ทำเว็บก็มักง่ายจด Domain + Hosting ไว้กับบัญชีเดียวของตัวเอง เพื่อจะได้ดูแลง่าย แต่พอผ่านไป 1 ปี เรามี Programer หรือ IT ดูแลเว็บเองเราก็ไปขอย้ายออกมาเพื่อดูแลเอง ซึ่งการย้ายแบบนี้เราก็ต้องไปซื้อเช่า Host ที่ใหม่ + ขอรหัสย้ายโดเมนจากที่เดิม
Whois Privacy Domain Protection คืออะไร ?
ก่อนหน้านี้เราต้องซื้อบริการ Privacy Domain เพื่อปกป้องข้อมูลผู้ถือครองบัญชี เพื่อไม่ให้ใครทราบได้ว่าโดเมนนี้ใครจด เบอร์ เมล์อะไร เพราะข้อมูลนี้จะแสดงเมื่อเราค้นใน Whois แต่ปัจจุบันเนื่องจากพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (Personal Data Protection Act: PDPA) ที่ออกมาในเรื่องของการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล ทำให้หลายๆโฮสติ้งเปิดให้บริการ Privacy Protection (Whois Protection) เพื่อไม่ให้คนอื่นสามารถนำข้อมูลผู้ถือครองโดเมนไปใช้ในทางที่ผิด ก่อให้เกิดความเสียหายได้
ข้อมูลที่แสดงใน Whois คือ
ซึ่งข้อมูลสำคัญที่แสดงความเป็นเจ้าของโดเมนในการตรวจสอบผ่าน Whois
- Registrar คือ ผู้ให้บริการรับจดโดเมนเนม ที่รับรองโดย ICANN ให้เป็นผู้บริการรับจดโดเมนได้ เช่น godaddy, Namecheap, domain.com, tucows เป็นต้น ถ้าเราจดผ่านโฮสติ้ง เขาก็จะไปจดผ่านเว็บข้างนอกให้เราอีกที
- Registrant คือ ผู้ขอจดทะเบียน หรือเจ้าของโดเมน เป็นบุคคลทั่วไป, บริษัท หรือองค์กร
- Administrator คือ แอดมินผู้ดูแลโดเมน แก้ไขข้อมูลต่างๆ เช่น แก้ไข DNS, ย้ายโดเมน,
- Technician คือ ผู้ดูแลเรื่องเทคนิคของโดเมน เช่น ตั้งค่า CNAME, DNSม Sub-Domain เพื่อใช้งานต่างๆ
- Name Server คือ URL ของ IP เครื่อง Server ที่เว็บเราตั้งอยู่ ในที่นี้คือ โฮสติ้ง
- Creation Date คือ โดเมนนี้จดทะเบียนครั้งแรกเมื่อใด
- Updated Date คือ วันที่ต่ออายุล่าสุดของโดเมน
- Registry Expiry Date คือ วันหมดอายุโดเมน
- Billing คือ ผู้ดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายของโดเมน
ชื่อโดเมนที่น่าจดใช้งาน
- .co
- .ai
- .io
- .life
- .live
- .pro
- .clinic
- .tech
- .tv
- .tour
- .delivery
- .studio
- .chat
จดโดเมนที่ไหนดี
เมื่อเราเข้าใจเรื่องชื่อ Domain แล้วขั้นตอนต่อมาก็คือการขอจดชื่อเว็บ หรือ จดโดเมน เพื่อที่เราจะได้เป็นเจ้าของชื่อเว็บไวต์สวยๆที่เราตั้งขึ้น การจดชื่อนั้นอาจจะต้องลองไปนั่งคิดคำสกดแล้วลิสชื่อมาก่อนก็ได้ หรือนึกได้แล้วไปพิมพ์เช็คชื่อดูเลยก็ได้แล้วแต่สะดวก ถ้าอยากเช็คชื่อเลยผมแนะนำเว็บนี้ https://domain.z.com/th/ พิมพ์ชื่อเว็บตรงช่อง “ค้นหาโดเมนของคุณ” เช่น monkeystudio.com แล้วกดปุ่มด้านข้างคนหา แล้วระบบจะเช็คว่ามีชื่อโดเมนที่เราสกดไปนั้นยังว่างอยู่ไหม หรือมีคนใช้ไปแล้ว ถ้ามีคนใช้ไปแล้วจะเป็นสีเทา ถ้าขึ้นราคา/ต่อปี ก็แสดงว่าใช้ชื่อเว็บนี้ได้
ผู้ให้บริการจดโดเมน
เราสามารถเลือกจดกับใครก็ได้เช่น ผู้ให้บริการจดโดเมนในไทย หรือ จดกับเว็บฝรั่งก็ได้เช่นกัน ต่างกันที่เราคาต่อปี
จดในไทย เช่น
- THNIC
- Z
- ATOM
- Lotus
- Neverdie
จดกับเมืองนอก
- NameCheap
- GoDaddy
- Bluehost
- Domain.com
- Name.com
- HostGator
โดยส่วนมากเว็บที่อยู่ในไทยมักจะใช้ชื่อโดเมน ตามดำดับ ดังนี้
- .com
- .co.th
- .co
- .io
- .ai
- .th
- .in.th
- .net
- .clinic
- .me
- .biz
- .or.th
- .org