ProductX WooCommerce Builder

Payment Gateway คืออะไร

Payment Gateway (เพย์เมนท์เกตเวย์) เป็นบริการชำระเงินออนไลน์ ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย โดยหลักๆแล้วจะเน้นไปทางเจ้าของธุรกิจมากกว่า เพราะเป็นผู้รับเงินที่ต้องเซตระบบให้พร้อม เพื่อรับการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตในช่องทางการขายของเรา เช่น เว็บไซต์, ร้านออนไลน์ต่างๆ

Payment Gateway มีกี่ประเภท

ระบบชำระเงินออนไลน์หรือ Payment Gateway นั้นมีแค่ 2 ประเภท โดยแยกตามประเภทการประกอบธุรกิจการเงิน ดังนี้

  1. Payment Gateway Bank คือ ระบบชำระเงินออนไลน์ที่เป็นของธนาคาร และเงินก็เข้าธนาคาร
  2. Payment Gateway Non Bank คือ ระบบชำระเงินที่ไม่ใช่ของธนาคาร แต่เป็นตัวกลางที่ทำหน้าที่ได้เหมือนธนาคาร เพื่อรับเงินและส่งเข้าธนาคารที่เราเปิดบัญชี

ทั้ง 2 รูปแบบใช้ได้เหมือนกันทั้งคู่ ขึ้นอยู่กับธุรกิจของเรา แต่สำหรับ SME ขนาดเล็กไม่ได้มียอดขายมาก มักจะผูกเว็บไซต์กับ Payment Gateway Non Bank เนื่องจากไม่มีค่าค้ำประกันและเอกสารที่ต้องยืนยันมากเหมือนกับ Payment Gateway Bank ของธนาคาร

วิธีเชื่อมต่อ WordPress Payment Gateway

ซึ่งวิธีการเชื่อมต่อ Payment Gateway กับเว็บไซต์เรานั้นมีตัวกลางชื่อ API (Application Programming Interface) ที่ทำให้เว็บ E-Commerce ของเรากับผู้ให้บริการชำระเงินออนไลน์อย่าง Payment Gateway คุยกันรู้เรื่อง สื่อสารกันอย่างเข้าใจ

ข้อเสีย Payment Gateway แบบ Bank Vs Non-Bank

Payment Gateway Bank

  • ข้อดี Payment Gateway Bank คือ มีความเสถียร น่าเชื่อถือ รับการชำระเงินจำนวนมากๆ ได้อย่างถูกต้อง
  • ข้อเสีย Payment Gateway Bank คือ ต้องวางเงินค้ำประกันประมาณ 2 แสนบาท + เอกสารที่วุ่นวายตามเงื่อนไข + ต้องหาโปรแกรมเมอร์มา Dev ระบบเพื่อเชื่อมต่อ API อีกที

Payment Gateway Non-Bank

  • ข้อดี Payment Gateway Non-Bank คือ
  • ข้อเสีย Payment Gateway Non-Bank คือ อาจมีข้อผิดพลาดหากมีการชำระเงินจำนวนมากๆในเวลาติดๆกัน ซึ่งอันนี้ผมเองก็ได้รับข้อมูลยืนยันจากเพื่อนมาแล้ว ดังนั้นต้องเลือกผู้ให้บริการที่น่าเชื่อถือและมีความรับผิดชอบเงินเราและพร้อมให้การ Support เราได้เสมอจะดีที่สุด

Payment Gateway สำหรับ WordPress

สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่เปิดเว็บโดยใช้ CMS อย่าง WordPress จะต้องติดตั้งปลั๊กอิน WooCommerce ซึ่งจะทำให้เราจัดการสินค้า สต็อก มีระบบตระกร้า มีระบบการชำระเงิน ซึ่งการชำระเงินของ WordPress ผ่าน WooCommerce นั้น จะมีให้เลือก

  1. Direct bank transfer คือ ชำระเงินด้วยการโอนผ่านบัญชีธนาคารของเรา แล้วลูกค้าก็ส่งสลิปไปทาง LINE OA หรือแนบผ่านเว็บ
  2. Check Payments คือ ออกเช็คสั่งจ่ายเงินให้เรานำ “เช็คเงินสด” ไปขึ้นรับเงินที่ธนาคาร
  3. Cash on Delivery (COD) คือ ชำระเงินสดปลายทางเมื่อรับสินค้า
  4. PayPal คือ ระบบชำระเงินออนไลน์ หรือ Payment Gateway ที่มากับ WooCommerce

ในเมื่อมี Payment Gateway มาให้เราเลือกแค่เจ้าเดียวคือ PayPal ดังนั้นหากเราจะใช้เจ้าอื่นเราก็ต้องติดตั้ง Plugin Payment Gateway เพิ่มเติม เพื่อที่เราจะสามารถใส่ค่า API สำหรับเชื่อมต่อได้

Payment Gateway Non Bank มีใครบ้าง

ทีนี้มาดูว่าแล้วถ้าไม่ใช้ Payment Gateway ของธนาคาร แต่เป็น Payment Gateway Non Bank มีผู้ให้บริการเจ้าไหนบ้าง

ของไทย

  • Money Space
  • GB Prime Pay
  • ChillPay
  • Paysolutions.asia
  • SiamPay
  • Paysbuy

ต่างประเทศ

  • PayPal
  • Omise ชื่อใหม่ > Opn
  • Payoneer
  • Stripe
  • Revolut
  • N26
  • Unity
  • PayOp

อื่นๆ

  • Beam: One-click Checkout
  • Rabbit LINE Pay
  • GlobePay
  • Giropay

วิธีการเลือก WooCommerce Payment Gateways

  1. Payment Gateway ตัวไหนที่เป็นของไทย และรองรับ WooCommerce, WordPress
  2. Payment Gateway เจ้าไหนที่ให้ค่าธรรมเนียมถูกสุด ลองทำตารางเทียบดู ( ไว้ว่างๆผมทำให้เป็น Google Sheets )
  3. ปลั๊กอินตัวไหนตั้งค่าง่าย มีการอัพเดทให้ตลอดเวลา มีปัญหาเราสามารถให้ Support ได้
  4. ปลั๊กอินเจ้าไหนที่ UX/UI ใช้งานง่าย เข้ากับเว็บของเรา
  5. ธุรกินเว็บไซต์ของเรามีการซื้อขายมากน้อยแค่ไหน มูลค่ามากไหม หากหลักล้าน แนะนำเป็นใช้ผ่าน Online Payment Gateway เจ้าใหญ่ๆ อย่าง Stripe หรือ Opn

Plug Payment Gateway

ผู้ให้บริการ Payment Gateway เจ้าไหนบ้างที่ทำ Plugin ให้เราใช้กับ WordPress มาดูกันครับ

  1. +++
  2. +++
  3. +++
  4. +++

ว่างๆมาเขียนต่อนะครับ ไปหาข้อมูลก่อน

แสดงความเห็น

ความเห็น