Revolut Digital Banking App Card with Crypto

ขายของออนไลน์ ใช้ Payment Gateway เจ้าไหนดี?

Payment Gateway (เพย์เมนท์เกตเวย์) หรือ ผู้ให้บริการระบบชำระเงินออนไลน์ ซึ่งเป็นตัวกลางในการชำระเงินออนไลน์ผ่านบัตรเครดิตหรือเดบิตนั่นเอง ในบ้านเราหลักๆแล้วจะมี Payment Gateway ของธนาคารไทยอยู่ทุกธนาคารให้เราดิลในกรณีบริษัทฯ มีการทำธุรกรรมกับธนาคารเจ้าประจำ ก็ทำให้เราสามารถยื่นเอกสารขอใช้ Payment Gateway ของธนาคารได้ง่ายขึ้น

Payment Gateway แบบ Bank
และ Non-Bank ต่างกันอย่างไร ?

Payment Gateway Bank ระบบชำระเงินออนไลน์ที่เชื่อมต่อกับธนาคารโดยตรง จะช่วยให้ธุรกิจและเว็บไซต์มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น มีความปลอดภัย แต่มีเงื่อนไขต้องมีเงินฝากค้ำประกัน โดยขั้นต่ำจะอยู่ที่ประมาณ 100,000 – 200,000 บาท ส่วน  Online Payment Gateway (Non-Bank) ผู้ให้บริการชำระเงินออนไลน์ที่ไม่ใช่รูปแบบธนาคารนั่นเองครับ

แบบ Payment Gateway Bank เชื่อมต่อกับธนาคารในประเทศไทยโดยตรง เช่น

  • Merchant iPay (ธนาคารกรุงเทพ)
  • K-Payment Gateway (ธนาคารกสิกรไทย)
  • Krungsri Biz Payment Gateway (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา)
  • Bualuang Merchant iPay
  • SCB Payment Gateway
  • Krungthai Fast Pay
  • Bill TMB Payment Gateway
  • Thanachartbank Payment Gateway
  • GSB PAY

แบบ Online Payment Gateway (Non-Bank) ผู้ให้บริการชำระเงินออนไลน์

  • mPAY Gateway Plus
  • ChillPay  (สัญชาติไทย)
  • GB Prime Pay (สัญชาติไทย)
  • Stripe (กำลังจะรองรับประเทศไทย)
  • Omise P
  • 2C2P
  • Pay Solution
  • SiamPay
  • Money Space
  • PayPal

แต่สำหรับระบบ E-Commerce หรือร้านค้าทั่วไปนั้นก็ต้องหา Payment Gateway Non-Bank  อื่นๆ ที่ไม่ใช่ของธนาคารใช้กัน แถมไม่ต้องมีเงินฝากค้ำประกัน ง่ายต่อการเชื่อมระบบด้วย API และมีค่าธรรมเนียมที่ต่างกันให้เลือกครับ วันนี้ตั้งใจจะรวบรวมระบบชำระเงินออนไลน์ให้ได้มากที่สุด เพื่อว่าใครกำลังหาอยู่ครับ

Payment Gateway กับ e-Wallet ต่างกันอย่างไร

ทั้ง 2 ระบบนั้นมีหน้าที่ต่างกันและรูปแบบการทำธุรกรรมต่างจุดประสงค์กัน

Payment Gateway คือ ระบบรับการชำระเงินออนไลน์ของร้านค้า บริษัท ที่ใช้ API ในการเชื่อมต่อกับธนาคารในประเทศไทยโดยตรง เพื่อรับเงินจากลูกค้า ดังนั้นคนที่จะเปิดใช้งาน Payment Gateway ได้ก็ต้องเป็นคนที่อยากตัดเงินจากบัตรของเราผ่านเว็บไซต์ E-Commerce , Mobile Application

e-Wallet คือ “วอลเล็ท (Wallet)” กระเป๋าเงินออนไลน์ ตามชื่อมันเลยครับ เป็นกระเป๋าเงิน Online ที่เราต้องเติมเงินจากบัญชีธนาคารเอาเงินเข้าไปพักไว้ เพื่อที่จะเอาไปเติมเงินในเกมส์  จ่ายค่าเน็ต ค่ามือถือ ค่าขนม จ่ายสินค้า บริการต่างๆ ดังนั้นในเมื่อมันเป็น “กระเป๋าเงินออนไลน์”  เราก็สามารถเลือกกระเป๋าที่จะถือได้ (ผู้ให้บริการ) เช่น

  1. mPay จาก ค่ามือถือ AIS
  2. ShopeePay จากแอพ Shopee ชื่อเดิมคือ Alipay
  3. TrueMoney Wallet / WeCard จากค่ายมือถือ True
  4. Samsung Pay
  5. Rabbit LINE Pay จาก LINE
  6. GrabPay Wallet จากแอพหารถ GrabPay Wallet Powered by KBank
  7. Blue CONNECT จาก Powered by KBank
  8. Paotang หรือ “เป๋าตัง” จากธนาคาร Krungthai NEXT
  9. Krungthai Inter Wallet
  10. Apple Wallet จาก Apple
  11. GooglePay จาก Google
  12. Dolfin Wallet จาก บริษัท เซ็นทรัล เจดี มันนี่ จำกัด
  13. Wechat Pay
  14. เยอะมากๆ

G-Wallet กับ e-Wallet ต่างกันอย่างไร

G-Wallet (จี-วอลเล็ท) จริงๆมันคือ “กระเป๋าเงินออนไลน์” เหมือนกันกับ e-Wallet นั่นแหละแค่ภาครัฐเขาเอา G-Wallet ที่เป็นของ ธ.กรุงไทย ไปตั้งชื่อให้มันแตกต่างออกไป เพื่อที่จะนำ แอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” (Paotang) ไปใช้กับโครงการเยียวยาต่างๆ ของภาครัฐแค่นั้นแหละครับ เช่น

  • ใช้สิทธิตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ
  • ใช้ชำระค่าสินค้า และบริการที่ร้านค้าถุงเงิน (ร้านค้าที่รับสแกนจ่ายผ่านแอปฯ เป๋าตัง)
  • ใช้โอน และรับเงินเข้าบัญชีธนาคาร
  • ใช้เติมเงินมือถือระบบต่างๆ
  • ใช้จ่ายบิลค่าน้ำ และค่าไฟ

1. Money Space (มันนี่ สเปซ)

เราคือผู้ให้บริการระบบรับชำระเงินออนไลน์ ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารของ บริษัท เพย์ เอนเทอไพรซ์ จำกัด พร้อมเดินหน้าด้วยวิสัยทัศน์ว่าเราจะสร้างประสบการณ์ใหม่ ให้กับ Payment Gateway ของประเทศไทย ด้วยการทำ “ทุกอย่างให้เป็นเรื่องง่าย” ตอบโจทย์ธุรกิจ Start Up E-commerce, ร้านค้าบนโลก Social Media ที่ต้องการเปลี่ยนข้อจำกัดที่เคยเจอ ให้เป็นโอกาสทำยอดขายได้จากทั่วโลก

อัตราค่าธรรมเนียมที่ถูกที่สุด 2.59% ต่อรายการ สามารถปรับลดค่าธรรมเนียมได้หากร้านค้าของท่านมียอดขายสูง

GB Prime Pay (โกลบอล ไพรม์)
GB Prime Pay (โกลบอล ไพรม์)

2. GB Prime Pay (โกลบอล ไพรม์)

เป็นผู้ให้บริการรับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ของไทย ที่ก่อตั้งโดย บริษัท โกลบอลไพร์ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจตาม พ.ร.บ. ระบบการชําระเงิน พ.ศ. 2560 ซึ่งกำกับดูแลโดยธนาคารแห่งประเทศไทย

GB Prime Pay ดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิดที่ต้องการให้ร้านค้าออนไลน์ทุกรายสามารถออกแบบระบบการรับเงินของตนเองได้ “GB PRIME PAY : CUSTOMIZE YOUR PAYMENT”เราจึงออกแบบระบบรับชำระเงินให้เหมาะสมกับการใช้งานในทุกธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจออนไลน์ SMEs ธุรกิจขนาดกลาง หรือธุรกิจขนาดใหญ่

payment gateway by2C2P image

3. 2C2P

ผู้ให้บริการระบบรับชำระเงินออนไลน์เจ้าแรกๆ ในไทยก็ว่าได้ หลายคนอาจไม่ค่อยคุ้นชื่อนี้กัน แต่รู้ไหมว่า 2C2P บริษัทใหญ่ๆ ในไทยใช้บริการเกือบทั้งหมด รวมถึง Facebook เองก็เป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกับ 2C2P ใช้ระบบ Qwik by 2C2P และเชื่อมกับหลายๆ ธนคารไทย

Omise (โอมิเซะ)
Omise (โอมิเซะ)

4. Omise (โอมิเซะ)

อีกผู้ให้บริการรับชำระเงินที่มี Plugin รองรับ CMS ดังๆอย่างเช่น Woo Commerce, Magento, PrestaShop, Shopify, Opencart.  น่าสนใจมากๆ

PayPal (เพย์แพล)
PayPal (เพย์แพล)

5. PayPal (เพย์แพล)

ถือเป็นผู้ให้บริการชำระเงินที่คู่ไทยมายาวนาน ไม่มีใครไม่รู้จัก หุหุ  แต่น่าเสียดายที่ตอนนี้บังคับให้ต้องจดทัเบียนบริษัทเท่านั้นถึงจะใช้บริการรับการชำระเงินได้จากต่างประเทศ  คนไทยจึงหันไปใช้บริการ
ปัจจุบันเปิดอีกช่องทางระบบรับชำระเงินบนแพลตฟอร์มโซเชียลด้วยลิงก์ PayPal.Me

PayPal.me

โดยที่ บริการใหม่อย่าง PayPal.me เราจะได้ URL ส่วนตัวโดยรูปแบบของ URL จะเป็น paypal.me/UserName ซึ่งเวลาเราจะให้ใครชำระเงินให้เราก็แค่ส่ง URL ชื่อร้านเรา หรือชื่อเราไปให้ได้อย่างสบายๆครับ

ChillPay PraIn FinTech

6. ChillPay (ชิวเพย์)

คือผู้ให้บริการรับชำระเงินออนไลน์ (Payment Gateway) เป็นตัวแทนในการรับชำระค่าสินค้าและบริการให้กับลูกค้าทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล มีช่องทางการรับชำระเงินที่หลากหลายครอบคลุมทุกธุรกิจ ด้วยมาตรฐานความปลอดภัยที่ผ่านกฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย

ChillPay เป็น StartUp สาย FinTech ในเครือบริษัท MFEC จำกัด (มหาชน) ถือว่าเป็น Payment Gateway บริษัทสัญชาติไทยแท้ ทุนจดทะเบียน 37,000,000 บาท ก่อตั้งโดยคุณเพิ่มบุญ เอี่ยมสุภาษิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ChillPay ภายใต้ชื่อที่จดทะเบียนคือ บริษัท พระอินทร์ ฟินเทค จำกัด (PraIn FinTech)

สมัครฟรี ใช้บริการง่าย มีทีม Support 24 ชม. มี Open API ที่เป็นมิตรกับทุกโซลูชั่น มีจุดเด่นเรื่องโอนเงินเร็วโดยใช้เวลาโอนเงินให้ร้านค้าออนไลน์ภายใน 1 วันทำการ สามารถยืนยันตัวตนเพื่อใช้บริการผ่านเว็บไซต์ได้ทันที ซึ่งต่างกับ Payment Gateway รายอื่นที่ต้องส่งเอกสาร และใช้เวลาอนุมัตินาน

นอกจากให้บริการรับการชำระเงินแล้ว ChillPay ยังมีสรุปรายงานผลการรับเงินให้ในหน้า Dashboard เพื่อให้เจ้าของธุรกิจ เจ้าของกิจการนำข้อมูลการรับชำระเงิน ไปวิเคราะห์เพื่อเพิ่มขายต่อไปได้ แถม Plugin ChillPay ยังมีปลั๊กอินรองรับ Woocommerce ด้วยนะ

7. DigiO (ดิจิโอ) หรือ DigiPay

ดิจิโอสตาร์ทอัพผู้นำด้านการพัฒนาและให้บริการระบบชำระเงินในประเทศไทย  ก่อตั้งขึ้นในปี 2555 ให้บริการด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สำหรับโซลูชั่นการชำระเงิน เช่น EDC, mPOS, การพิสูจน์และยืนยันตัวตนบุคคลแบบดิจิทัล และตัวกลางเชื่อมต่อเครือข่ายการชำระเงิน บริษัทมีสำนักงาน 3 แห่ง อยู่ในกรุงเทพ 2 แห่งและเชียงใหม่ ในขณะที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศไทย แต่ฐานลูกค้าของดิจิโอไม่ได้มีเพียงในประเทศไทยเท่านั้น ยังครอบคลุมไปถึงประเทศในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น มาเลเซีย และพม่า นอกจากนี้ดิจิโอยังได้รับรางวัลด้านนวัตกรรมอีกมากมาย รวมถึงรางวัลจากนายกรัฐมนตรีในงาน Startup Thailand 2560 ดิจิโอสามารถทำกำไรได้ตั้งแต่เริ่มกิจการ ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการรับชำระเงินของดิจิโอมากกว่า 1 แสนร้านค้า มียอดการรับชำระเงินเข้าผ่านระบบไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาท

Revolut
Revolut

8. Revolut : Digital Banking App & Card

Revolut คือบริษัทฟินเทค สตาร์ทอัพธนาคารทางเลือก เปิดตัวตั้งแต่ปี 2015 พัฒนาระบบดิจิทัลแบงกิ้ง ให้บริการทั้งลูกค้าส่วนบุคคลและลูกค้าธุรกิจ มีบริการหลากหลายรูปแบบ โดยจะมีแอพเป็นศูนย์กลางเก็บเงินไว้ ให้ผู้ใช้จะเติมเงินเข้าไปในบัญชีของ Revolut โดยการโอนผ่านธนาคาร, ผ่านเดบิต, บัตรเครดิต, Android Pay หรือ Apple Pay  บัตรรองรับ 130 สกุลเงินทั้วโลก โดยจ่ายเงินแบบไร้สัมผัส (Contactless payment) ระยะห่างระหว่างบัตรกับเครื่องอ่านจะอยู่ไม่เกิน 5 เซนติเมตร หรือ 2 นิ้ว

นอกจากนี้ Revolut ยังมีบริการ “บัตรเสมือนแบบใช้แล้วทิ้ง” หรือ Disposable Virtual Cards เพื่อการใช้จ่ายออนไลน์ที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น เมื่อมีการทำธุรกรรมแล้ว ระบบจะทำลายรายละเอียดของบัตรนั้นทิ้งทันที และสร้างบัตรเสมือนขึ้นมาใหม่สำหรับทำธุรกรรมครั้งถัดไปในแอพ อ่านต่อ…

PPay (พีเพย์)
PPay (พีเพย์)

9. PPay (พีเพย์)

ก่อตั้งโดย บริษัท พีซีโฮม (ประเทศไทย) จํากัด ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2558 โดยการร่วมทุนระหว่างบริษัท PChome Online (8044-tw) ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไต้หวัน และบริษัทแคล-คอมพ์ อีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (CCET.TH)

นอกจากบริการแพลทฟอร์มเพื่อการช้อปปิ้ง พีซีโฮมไทยยังมีบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้ชื่อ “พีซีโฮมเพย์” (PChomePay) หรือ “พีเพย์” (PPay) บริษัทได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้สามารถให้บริการรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิต บัตรเดบิต การจ่ายบิล รวมถึงการชำระเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม อินเทอร์เน็ตแบ้งกิ้ง (internet banking) และโมบายแบ้งกิ้ง (mobile banking) ด้วย

How to TH

CF Function ปิดการขายได้ไวขึ้น ด้วยการส่งลิงก์ชำระเงินอัตโนมัติ จากการตั้งค่าคีย์เวิร์ดตามใจคุณ
– เชื่อมต่อกับแฟนเพจ Facebook
– ระบบตอบกลับอัตโนมัติ

PaySolutions.asia
PaySolutions.asia

10. PaySolutions.asia (เพย์ โซลูชั่น)

เพย์ โซลูชั่น เป็นระบบ Payment Gateway รายเเรกของไทย ให้บริการระบบรับชำระเงินทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต พร้อมเพย์ อินเทอร์เน็ต/โมบายล์แบงกิ้ง จุดชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์ สามารถทำเเบบผ่อนชำระนานสูงสุด 10 เดือน เป็นผู้ริเริ่มลิงก์ชำระเงินผ่านทางโซเชียลมีเดีย (Pay Social) ได้รับความนิยมจากทั้งร้านค้าออนไลน์ SME เเละธุรกิจขนาดใหญ่ มีระบบบริหารจัดการเเละรายงานเเบบ real time 24 x 7 ที่สำคัญได้มาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล ทั้ง SSL เเละ ความปลอดภัยในการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต PCIDSS, Verified by VISA และ MasterCard SecureCode รวมถึงระบบตรวจสอบทุกรายการสั่งซื้อ ทำให้มั่นใจได้ว่าทุกการชำระเงินออนไลน์เป็นเรื่อง่ายๆ เเละปลอดภัยอย่างเเน่นอน

Patrick (ซ้าย) และ John Collison
Patrick (ซ้าย) และ John Collison

11. stripe.com (สตริป)

Patrick (ซ้าย) และ John Collison พี่น้องผู้ก่อตั้ง Stripe ระบบชำระเงินออนไลน์ สองพี่น้องผู้พลิกโฉมหน้าการชำระเงินออนไลน์ให้เป็นเรื่องง่ายด้วยโค้ด 7 บรรทัดลงในเว็บไซต์ก็ทำธุรกรรมการเงินได้ทันที Amazon ยังใช้บริการ Stripe

ซึ่ง APP ที่ 2 พี่น้องคนนี้เขียนมาขายคือ Wikipedia และ Auctomatic ระบบประมูลใน Ebay นั่นเอง

 Square
Square

12. Square (สแควร์)

  • 2.9% บวก 30 เซ็นต์ออนไลน์
  • 1.75% สำหรับการทำธุรกรรมบัตร
  • 2.5% สำหรับรายการคีย์

ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมบัตรของคุณสำหรับการชำระด้วยชิปและ Pin 1.75%หรือคุณจะจ่าย 2.9% เพื่อชำระเงินออนไลน์บวก 30 เซ็นต์สำหรับแต่ละธุรกรรม ออฟไลน์คุณยังสามารถเข้าถึงการซื้อที่มีการคีย์ได้ 2.5% เมื่อคุณต้องการชำระเงินเมื่อมีคนไม่มีบัตรของตน

SiamPay (สยามเพย์)
SiamPay (สยามเพย์)

13. SiamPay (สยามเพย์)

สยามเพย์ เป็นผลิตภัณฑ์สินค้าของบริษัท เอเชียเพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ให้บริการด้านต่างๆแก่ลูกค้าหลายประเภท เช่นระบบรับชำระเงินออนไลน์ อีคอมเมิร์ซ การทำธุรกรรมผ่านบัตรเครดิตออนไลน์ อินเตอร์เนตแบงค์กิ้ง การชำระด้วยเงินสด ทั้งหมดสามารถรวบรวมมาในระบบเดียวกันได้

14. Paysbuy  (เพย์สบาย)

เพย์สบาย ของ Dtac ได้ถูก Omise ซื้อกิจการไปเรียบร้อยเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม 2560 จึงประกาศยุติการให้บริการระบบรับชำระเงินออนไลน์ (Payment Gateway) ของ Paysbuy อย่างถาวรทาง Tesco Lotus, บัตรเครดิต, Internet Banking, Big C, Alipay, CenPay, ATM และเคาท์เตอร์ธนาคารต่าง ๆ

img site info spot3 th

15. Rabbit LINE Pay (แรบบิท-ไลน์ เพย์ )

เป็นบริการของ บริษัท แรบบิท-ไลน์ เพย์ จำกัด เมื่อก่อนนั้นให้บริการแรกๆเป็นแบบ e-Wallet โดยใช้ชื่อ LINE Pay ที่เราคุ้นหูกันตั้งแต่แรก ก่อนที่ LINE Thailand จับมือร่วมกับบัตรแรบบิท พัฒนาบริการระบบชำระค่าโดยสารของ BTS แล้ว ก็ได้เปลี่ยนชื่อ LINE Pay เป็น Rabbit LINE Pay (แรบบิท-ไลน์ เพย์ ) นี่เอง

เล่าซะยาวเลย เรื่องคือ Rabbit LINE Pay มี Plugin WooCommerce เชื่อมกับ WordPress ด้วยจ้าา  Rabbit LINE Pay plug-in.zip

Mollie Payments for WooCommerce
Mollie Payments for WooCommerce

16. Mollie (มอลล์ ลิว)

เป็นระบบชำระเงินออนไลน์รองรับของธาคารฝั่ง European ไว้หลายเจ้าเลย ปัจจุบันเปิดตัวการชำระเงินด้วย Bitcoin ผ่านทาง WebSites and Apps เรียบร้อย และมี WordPress Plugin เชื่อมต่อระบบให้ด้วยครับ คือ Mollie Payments for WooCommerce

N26 - Number 26
N26 – Number 26

17. N26 (เอ็น 26)

N26 หรือชื่อเดิม Number 26 เป็นสตาร์ตอัพจากเยอรมนีที่ก่อตั้งในปี 2013 บริษัทตั้งเป้าเป็น “ธนาคารผ่านแอพมือถือ” ที่ลูกค้าไม่จำเป็นต้องไปที่สาขาเลย ปัจจุบันมีลูกค้ามากถึง 200,000 รายทั่วยุโรปแล้ว สมัครเปิดบัญชีใหม่ ยืนยันตัวตนด้วยการสนทนากับเจ้าหน้าที่ผ่านวิดีโอ จากนั้น N26 จะส่งบัตร MasterCard มาให้ทางไปรษณีย์เหมือนกับธนาคารทั่วไป ลูกค้าสามารถจ่ายเงินด้วยการรูดบัตรจริงๆ หรือจะใช้ผ่านแอพของ N26 บนมือถือแล้วรูดผ่านชิป NFC ก็ได้เช่นกัน

PayKickstart
PayKickstart

18. PayKickstart (เพย์ คลิก สตาร์ท)

ผู้ให้บริการในรูปแบบ Subscription Billing & Affiliate Management สำหรับธุรกิจที่เป็น Software-as-a-Service (SaaS)

Skrill: Virtual Wallet for Money Transfers & Online Payments
Skrill: Virtual Wallet for Money Transfers & Online Payments

19. Skrill (สคริล)

Skrill (อ่านว่า สคริล ) เป็นผู้ให้บริการชำระเงิน สินค้า บริการออนไลน์ และโอนเงินต่างประเทศ เดิมมีชื่อว่า ‘Moneybookers’ ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็น Skrill  ปัจจุบันมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ London, England/UK ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 (พ.ศ. 2544)  รองรับโดย FCA (Financial Conduct Authority) จึงสร้างความมั่นใจและความน่าเชื่อถือได้ดี มีบริการที่ครอบคลุมทั่วโลก 120 ประเทศ และสกุลเงินรวม 40+ ประเภท รวมถึงสกุลเงินดิจิทัล

คนไทยรู้จักกันดีเพราะมีชื่อเสียงในกลุ่มนักเทรด ‘Forex’ (เทรดค่าสกุลเงิน) เพราะคนไทยใช้ Skrill ในการโอนเงินไปโบรกเกอร์ต่างประเทศ เพราะโบรกเกอร์เจ้าใหญ่ ๆ ต่างก็เป็น Partner กับ Skrill ทำให้ได้ค่าธรรมเนียมการโอนถูกลง

TransferWise Online Transfers International Banking

20. TransferWise เปลี่ยนชื่อเป็น Wise (ไวส์)

ถ้าพูดถึง Skrill แล้วจะไม่พูดถึง TransferWise คงไม่ได้และยังเป็นคู่ปรับของ PayPal (เพย์แพล) ด้วยค่าธรรมเนียมการโอนที่ถูกว่มากๆ ทำให้การโอนเงินระหว่างประเทศถ้าไม่จำเป็นคนมักจะหันไปใช้ TransferWise หรือ Wise แทนเป็นตัวเลือกแรก

TransferWise (ทรานส์เฟอร์ไวส์) ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Wise (ไวส์) เพื่อให้สั้น เรียกง่ายขึ้น  คือ  ผู้ให้บริการ Payment Gateway โอนเงินข้ามประเทศในลอนดอนซึ่งก่อตั้งโดยนักธุรกิจชาวเอสโตเนีย Kristo Käärmann และ Taavet Hinrikus ในเดือนมกราคม 2011 (พ.ศ. 2554)  ครอบคลุมทั่วโลกถึง 71 ประเทศ ครอบคลุม 1300 เส้นทางสกุลเงิน

mPAY Gateway Plus mPAY Payment Solution

21. mPAY Gateway Plus (เอ็มเปย์)

สำหรับ mPAY Gateway Plus  หรือ mPAY Payment Solution จาก AIS นั้น คือ ระบบชำระเงิน ครอบคลุมทุกรูปแบบการจ่ายสำหรับร้านค้าออนไลน์และมีหน้าร้าน ลูกค้าชำระสินค้าและบริการวันนี้ พรุ่งนี้เงินเข้าร้านค้า รวดเร็วทันใจไม่ต้องรอขั้นต่ำหรือวันสรุปตัดยอด

mPAY Payment Solution เป็นของบริษัท แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จำกัด เป็นบริษัทในเครือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งเมื่อปี 2548 ด้วยทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท และเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2561. mPAY ร่วมทุนกับ Rabbit LINE Pay ขยายแพลตฟอร์ม e-wallet และการชำระเงินผ่านมือถือทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ให้บริการธุรกรรมทางด้านการเงินต่างๆ เช่น เติม จ่าย โอน ถอน โดยได้รับใบอนุญาตการให้บริการ ภายใต้การกำกับดูแลโดยธนาคารแห่งประเทศไทย

mPAY Gateway
mPAY Station

ทำความเข้าใจก่อน

mPAY Gateway Plus คือ ผู้ให้บริการ Payment Gateway ระบบรับชำระเงินครบวงจร รองรับการชำระเงินทุกรูปแบบ เหมาะกับร้านค้าทุกประเภททั้งออนไลน์และออฟไลน์รับเงินก็ง่าย… ขายวันนี้ ได้รับเงินเข้าบัญชีในวันทำการถัดไป

mPAY Payment Solution คือ “วอลเล็ท (Wallet)” กระเป๋าเงินออนไลน์ ให้บริการเติมเงิน-จ่ายบิลเอไอเอส, เอไอเอส ไฟเบอร์, เติมเงิน แรบบิท ไลน์ เพย์, โอนเงิน, จ่ายค่าน้ำ-ไฟฟ้า, ค่าบัตรเครดิต-สินเชื่อ, ประกันชีวิต และอื่นๆ อีกมากมายกว่า 200 บริการ สะดวก ใกล้บ้านคุณกว่า 100,000 จุดทั่วประเทศ

AIS mPAY mPOSGateway for every seller

mPAY mPOS Kbank คือ สำหรับธุรกิจร้านค้ามีหน้าร้าน ที่ต้องการรับชำระ บัตรเครดิต

mPAY mPOS Rabbit คือ สำหรับธุรกิจร้านค้ามีหน้าร้าน ที่ต้องการรับชำระ บัตรแรบบิท กำลังจะเปิดให้บริการเร็วๆนี้

ช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย

  • รองรับลูกค้า Credit/ Debit card ของทุกธนาคารทั่วโลก
  • รองรับลูกค้าที่มีแอปพลิเคชันธนาคาร  กสิกรไทย / ไทยพาณิชย์ / กรุงเทพ / กรุงศรี / กรุงไทย
  • รองรับ PromptPay และ e-wallet
  • รองรับลูกค้าที่มีบัญชีธนาคาร
  • จุดชำระเงิน mPAY STATION
  • รองรับ Rabbit LINE Pay ชำระได้ทั้ง e-wallet และ Credit card
  • รองรับนักท่องเที่ยวชาวจีนที่ใช้บริการ Alipay
  • รองรับนักท่องเที่ยวชาวจีน ที่ใช้บริการ WeChat Pay

ลิงก์รับชำระ

ง่ายและสะดวกสบายแค่สมัคร สร้างและส่งลิงก์ ให้ลูกค้า เหมาะสำหรับผู้ประกอบการรายย่อย ร้านค้าออนไลน์ บน Facebook, Instagram, LINE

  • ไม่ต้องพัฒนาระบบให้ยุ่งยาก
  • แค่กรอกข้อมูลสมัครบริการ ก็เริ่มรับชำระได้เลย
  • รองรับการใช้งานของลูกค้าทุก Devices

Simple API

เหมาะกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ ที่ต้องการช่องทางการชำระเงินแบบ Automatic เหมาะกับการนำไปใช้บน Website, Application

  • API ที่ง่าย ใคร ๆ ก็เขียนได้
  • รองรับทุกแพลตฟอร์ม
  • รองรับการใช้งานของลูกค้าทุก Devices
  • .
ShopeePay
ShopeePay

22. ShopeePay (ช้อปปี้เพย์)

ก่อนหน้านี้มันคือ AirPay นั่นเองซึ่งอยู่ภายใต้บริษัทเดียวกันคือ  SEA แค่ Rebrand มาเป็นชื่อ ShopeePay

ShopeePay ไม่ใช่ผู้ให้บริการ Payment Gateway แต่เป็น “วอลเล็ท (Wallet)” กระเป๋าเงินออนไลน์ที่ยกระดับชีวิตคุณให้สะดวกยิ่งขึ้น ด้วยบริการครบวงจร ไม่ว่าจะชำระบิล เติมเงินมือถือ เติมเกม ซื้อตั๋วหนัง และบริการอื่นๆอีกมากมาย
・ ง่ายกว่า เพราะรองรับทั้งบัญชีธนาคาร บัตรเดบิต และบัตรเครดิต
・ คุ้มกว่า ด้วยสิทธิพิเศษและโปรโมชันมากมาย
・ ปลอดภัยกว่า ด้วยมาตรฐานระดับสากล

Payment Gateway Ksher Thailand

23. Ksher (เคเชอร์)

บริษัท เคเชอร์ เพย์เมนท์ จำกัด ประจำประเทศไทย เป็นผู้ให้บริการระบบ online Payment Gateway การทำธุรกรรมการเงินระหว่างธุรกิจ ร้านค้า รับเงินจากหลายช่องทางทั้ง ออนไลน์และออฟไลน์ ให้กับลูกค้าทั้งในประเทศ และนอกประเทศ ได้ง่ายยิ่งขึ้น เหมาะกับ

  • Restaurant / Hotel / Spa
  • Travel agency
  • School
  • Property management
  • Transportation
  • store / Pharmacy
Online Payment Gateway Ksher Thailand

ผลิตภัณฑ์ของเคเชอร์

Ksher Boss Pro – แอพทำธุรกรรมทางการเงิน,สร้างบิลเรียกเก็บเงิน,รับชำระเงิน
Static QR Code – คิวอาร์โค้ดสำหรับสแกนจ่ายเงินผ่านมือถือ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ลดการสัมผัส
POS / Kiosk integration – สำหรับร้านค้าที่มีหน้าร้านเพิ่มโอกาสในการสร้างลูกค้าด้วยการเพิ่มช่องทางชำระเงิน
Ksher LinkPay – ลิงก์ชำระเงินสำหรับส่งบิลออนไลน์เพื่อเรียกเก็บเงินไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็รับชำระเงินได้ด้วยลิงก์เดียว

———————————- note ——————————————

บทความนี้จะมีการอัพเดทเรื่อยๆ หากมีผู้ให้บริการ Payment Gateway ที่น่าสนใจนะครับ

แสดงความเห็น

ความเห็น