ไขข้อข้องใจว่าเราควรตั้งชื่อ url เว็บไซต์ของเราโดยใช้ – (dash) กับ _ (underscore) อันไหนดีกว่ากัน ? มีหลายคนน่าจะสงสัย ผมเข้าเรื่องเลยแล้วกัน ไม่ต้องอธิบายเยอะ คอนเสปบทความเว็บของผมคือ ตอบก่อนค่อยอธิบาย
คำตอบตือ : ให้ตั้ง url โดยใช้ – (dash) / Hyphens (-) ดีต่อ SEO และ Googlebot อ่านเข้าใจกว่าที่สุด
คำอธิบายคือ : ถ้าใช้ – (ขีดกลาง) จะทำให้ Googlebot รู้ว่ามันคือคำเชื่อม และการเขียนคำให้ติดกันจะทำให้ bot งงคำศัพท์ไปอีก เช่น green-dress.html เป็น greendress.html และการใช้ _ (underscore) หรือ ขีดล่าง จะทำให้ Googlebot ใช้แบนด์วิดท์เกินกว่าที่จำเป็นมาก หรืออาจไม่สามารถจัดทำดัชนีอันดับ SEO (Search Engine Optimizer) เนื้อหาทั้งหมดในเว็บไซต์ของคุณได้อย่างสมบูรณ์ ทั้งหมดนี้ผมไม่ได้พูดเอง Google Search Central ได้กล่าวไว้ใน Keep a simple URL structure
ไม่เพียงแต่เราเองที่สงสัยแม้แต่วิศกรซอฟแวร์อาวุโส Matt Cutts ที่ทำงานใน Google’s Search Quality and Webspam Team. ก็ถูกถามคำถามนี้ซ้ำๆ บ่อยครั้งจนเจ้าตัวออกมาโพสต์ใน Blog อธิบายซะยาวเขียว อ่านได้ที่นี่
มามอง seo url กับความเป็นจริงในการใช้งานบ้างครับมนุษย์เราคุ้นเคยกับการใช้เครื่องหมายยัติภังค์ (-) ในชีวิตประจำวันมากกว่าอันเดอร์สกอร์ ( _ ) และอีกอีกอย่างเวลาเราจำ url เราจะใช้การพิมพ์ – (ขีดกลาง) ในแป้นพิมพ์งายกว่าต้องไปคว้างหาอันเดอร์สกอร์ จริงไหมครับ?
การใช้เครื่องหมาย – (ขีดกลาง) ใน url ทำให้ bot อ่าน url ได้ดีขึ้น จัดอันดับบทความของเราได้ถูกต้อง เมื่อก่อนเราเขียนเว็บ html เราจะเว้นช่องวางตรงชื่อไฟล์ html ทำให้เวลาเปิดเว็บจะได้ url แบบนี้ seo%20google.html ทำให้ bot แยกคำหลักหรือวลีได้ไม่แม่นยำ หากเราใช้ seo-google.html โลก seo สดใสขึ้นทันตาเลยแหละ!
Google bot มอง – (dash) เป็นตัวคั่นคำ และมอง _ (underscore) เป็นตัวเชื่อมคำ ตัวอย่างเช่น /thailand_football จะเชื่อมคำเป็น /thailandfootball คือไม่มีผลกับการเปิด url แต่ทำให้เสียโอกาศในการเพิ่มประสิทธิภาพ SEO Keyword บน url ครับ
ดังนั้นเมื่อเราใช้ /thailand_football ใน Google SERP อาจจะเห็นเป็น /thailandfootball แต่ใน /thailand-football จะได้คีย์เวิร์ดติดมาด้วย เป็น… “ประเทศไทย” “ฟุตบอล” กล่าวได้ว่าเครื่องหมาย – (dash) มีบทบาทสำคัญในการจัดโครงสร้าง URL สำหรับ SEO ของ Google ไปฟังวีดีโอ Matt Cutts ในงาน Google I/O 2010 ยืนยันอีกเสียงครับ
แถมท้ายห้อยตาม
1. Hyphens (-) คำเดียวกับ – (dash) ภาษาไทยคือ ยัติภังค์ (เครื่องหมายขีดกลางสั้นๆ)
2. Underscores ( _ ) ภาษาไทยคือ อันเดอร์สกอร์, สัญประกาศ. [สันยะปฺระกาด]
3. Google Webmaster (ผู้ดูแลเว็บ) เปลี่ยนชื่อเป็น Google Search Central